หลักสูตร
ความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ
หลักการและเหตุผล
อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในแต่ละปี สำหรับงานอับอากาศนั้น มีปริมาณค่อนข้างมาก หลายชีวิตที่เสียไป ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการ และความไม่รู้ของนายจ้าง ตามกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2547 ข้อ 21 ให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรที่อธิบดีประกาศกำหนดแก่ลูกจ้างทุกคนที่ทำงานในที่อับอากาศ รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ความเข้าใจทักษะที่จำเป็นในการทำงานอย่างปลอดภัย ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย พร้อมทั้งวิธีการและขั้นตอนในการปฏิบัติงาน
นายจ้างหรือสถานประกอบการหลายแห่ง มักขาดคามรู้ หรือประมาท จึงปล่อยให้ลูกจ้างลงไปทำงานในที่อับอากาศ และเสียชีวิต ดังที่เป็นข่าวทั่วไป ยังผลให้เกิดความสูญเสียมากมาย
ดังนั้น เพื่อเป็นการเพิ่มระดับความรู้ความสามารถของผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงป้องกันความสูญเสียที่จะเกิดขึ้น บริษัท ไดเรคชั่น เทรนนิ่ง จำกัด จึงขอเสนอโครงการฝึกอบรม ภายใต้หลักสูตร “ความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ สำหรับผู้ปฏิบัติงาน ผู้ช่วยเหลือ ผู้ควบคุม และผู้อนุญาติ” ทั้งนี้เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพผู้ปฏิบัติงาน และพัฒนาระบบมาตรฐานการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยฯต่อไป
ชื่อหลักสูตร
- ความปลอดภัยความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ สำหรับผู้ปฏิบัติงาน ผู้ช่วยเหลือ ผู้ควบคุม และผู้อนุญาติ
ระยะเวลาในการฝึกอบรม
หลักสูตร | ระยะเวลาในการอบรม | ภาคทฤษฏี | ภาคปฏิบัติ |
ผู้อนุญาต | 6 | 6 | 0 |
ผู้ควบคุม | 12 | 9 | 3 |
ผู้ปฏิบัติงาน | 12 | 9 | 3 |
ผู้ช่วยเหลือ | 15 | 10 | 5 |
หลักสูตร4 หน้าที่ | 16 | 11 | 5 |
จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรมต่อรุน
ไม่เกิน 30 ท่านต่อรุ่น
ลำดับ | รายการ | จำนวนผู้เข้าอบรม | จำนวนวิทยากร |
1 | ภาคทฤษฏี | 30 | 1 |
2 | ภาคปฏิบัติ | 15 | 1 |
อัตราค่าลงทะเบียน
อัตราต่อท่าน 4,500 บาท
อัตราต่อหลักสูตร 50,000 บาท
การชำระค่าลงทะเบียน
- เช็คสั่งจ่าย บริษัท ไดเรคชั่น เทรนนิ่ง จำกัด
- โอนเข้าธนาคาร ชื่อบัญชี บริษัท ไดเรคชั่น เทรนนิ่ง จำกัด
- เงินสด
กำหนดการฝึกอบรม
วัน/เวลา | หัวข้อฝึกอบรม | วิทยากร |
วันแรก | ||
08.00 – 08.30 น. | ทำแบบทดสอบ PRE-TEST | นายปรีชา ศรีรุณ |
08.30 – 09.30 น. | กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ | |
09.30 – 10.30 น. | ความหมาย/ชนิด/ประเภท และอันตรายในที่อับอากาศ | |
10.30 – 11.30 น. | การประเมินสภาพงานและการเตรียมพร้อมในการทำงานในที่อับอากาศในที่อับอากาศ | |
11.30 – 12.00 น.
| ระบบการขออนุญาตทำงานในที่อับอากาศและการขอยกเลิกการอนุญาตทำงานในที่อับอากาศ | |
พักรับประทาอาหาร | ||
13.00 – 14.00 น. | วิธีการปฏิบัติงานในที่อับอากาศที่ถูกต้องและปลอดภัย | นายปรีชา ศรีรุณ |
14.00 – 15.00 น. | อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศ | |
15.00 – 16.00 น. | เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ | |
16.00 – 17.00 น. | เทคนิคการระบายอากาศ | |
วันสอง | ||
08.00 – 08.30 น. | บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือและผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ | นายปรีชา ศรีรุณ |
08.30 – 09.00 น. | การสั่งให้หยุดทำงานชั่วคราว | |
09.00 – 09.30 น. | อันตรายที่อาจได้รับในกรณีฉุกเฉินและวิธีการหลีกหนีภัย | |
09.30 – 10.00 น. | การวางแผนการปฏิบัติงานและการป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำงานในที่อับอากาศ | |
10.00 – 10.30 น. | การช่วยเหลือและการช่วยชีวิต | |
10.30 – 11.00 น. | การปฐมพยาบาลและการช่วยเหลือเบื้องต้น | |
11.00 – 12.00 น. | การดับเพลิงขั้นต้น | |
พักรับประทาอาหาร | ||
13.00 – 14.30 น. | ฝึกปฏิบัติการดับเพลิงขั้นต้น | นายปรีชา ศรีรุณ |
14.30 – 16.00 น. | ฝึกปฏิบัติการอุปกรณ์ที่ใช้กู้ภัยสำหรับที่อับอากาศ | |
16.00 – 18.00 น. | ฝึกปฏิบัติการช่วยเหลือและช่วยชีวิตในการกู้ภัยสำหรับที่อับ | |
18.00 – 18.30 น. | ทำแบบทดสอบ POST-TEST |